การตกแต่งภายในบ้านของท่านแสดงถึงตัวตนและสีสันก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน สีสันช่วยให้เราสร้างห้องที่สื่อถึงความรู้สึก หรือสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและมีชีวิตชีวาได้ ดังนั้นเมื่อเลือกสีสำหรับ ลิฟท์บ้าน ของท่าน สิ่งสำคัญคือต้องเลือกให้เข้ากับสไตล์การตกแต่งภายใน ในบทความนี้ เราจะมาเสนอวิธีการเลือกสีลิฟท์บ้านให้เหมาะกับพื้นที่ของท่านกัน
คุณสามารถเลือกสีได้เยอะขนาดไหน
อันดับแรก มาพูดถึงตัวเลือกสีกันก่อน! ตัวเลือกสีของลิฟท์บ้านของท่านมีบทบาทสำคัญในการจับคู่ส่วนอื่น ๆ ในบ้านของท่าน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อพูดถึงสี จึงต้องมีตัวเลือกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซีเบสมีสี RAL ให้ท่านเลือก 250 เฉดสี รวมไปถึงกลุ่มสีระดับพรีเมียมที่จะพาการตกแต่งลิฟท์บ้านของท่านไปสู่อีกระดับ ท่านสามารถดูตัวเลือกสีพรีเมียมของเราได้ที่นี่: Color me happy guide
ตัดสินใจเลือกสีลิฟท์บ้านอย่างไรดี
เราแนะนำให้ท่านเริ่มต้นด้วยการคิดสีที่ในบ้านท่าน และลองคิดถึง Colour Schemes ที่ท่านเห็นอยู่ในขณะนี้ นั่นน่าจะเป็นรูปแบบสีที่ท่านอาจจะเลือกให้เข้ากับบ้านของท่าน แต่ถ้าท่านเริ่มจากศูนย์ ให้นึกถึงสีที่ท่านอยากเห็นในพื้นที่นั้น ๆ และเลือกว่าอยากให้ลิฟท์บ้านโดดเด่นในตรงนั้น หรือความกลมกลืนไปกับบ้าน
ถ้าท่านตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกสีอะไร ลองใช้โปรแกรมออกแบบลิฟท์บ้าน 3D
เมื่อท่านเลือกซื้อลิฟท์บ้านของซีเบส มีสีให้เลือกมากมาย ท่านสามารถปรับแต่งสีและวัสดุของช่องลิฟท์ ประตู หลังคา ผนัง พื้น แฮนด์มือจับ และอื่นๆ ได้ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการดูว่าท่านกำลังเลือกสีที่ถูกต้องหรือไม่คือการสร้างลิฟท์ของท่านและลองเล่นกับความเป็นไปได้ที่ไม่รู้จบใน เครื่องมือตกแต่งลิฟท์ ที่ท่านออกแบบเองได้
วิธีเลือกสีลิฟท์จาก Color Scheme
1.MONOCHROMATIC SCHEME – โทนดั้งเดิมและละเอียดอ่อน
MONOCHROMATIC SCHEME คือ การเลือกจากเฉดสีเดียวกัน ซึ่งการเลือกแบบนี้จะทำให้ลิฟท์มีความกลมกลืนของพื้นที่ เหมาะกันท่านที่ต้องการให้ลิฟท์และบ้านมีโทนสีที่ไปในทิศทางเดียวกัน
ตัวอย่าง ห้องโทนสีน้ำเงินให้ความรู้สึก “สงบและคลาสสิค”
เคล็ดลับ: โดยรวมของท่านเป็นเฉดสีน้ำเงินที่แตกต่างกัน ท่านควรเลือกเฉพาะเฉดสีน้ำเงินจากตัวเลือกสี RAL หรือคู่มือสีแบบพรีเมียมของเรา
2.ANALOGOUS SCHEME – โทนเป็นมิตรและสดใส
Analogous Scheme คือ การเลือกหลักการใช้เฉดสีใกล้เคียงกัน หรือ สามสีเรียงกัน เช่น ในจานสีที่คล้ายคลึงกันใช้ 2-4 สีที่อยู่ติดกันในวงล้อสี นั่นอาจเป็นตัวอย่าง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว หรือสีชมพู สีม่วง สีน้ำเงิน การผสมสีนี้ใช้งานได้หลากหลาย แต่อาจดูมากเกินไปได้ ดังนั้น เพื่อสร้างสมดุลให้กับโทนสีที่คล้ายคลึงกัน ท่านควรเลือกสีหลักหนึ่งสีและใช้ส่วนที่เหลือเป็นตัวเน้นสีแทน
ตัวอย่าง ห้องโทนสีขาวน้ำตาลให้ความรู้สึก “อบอุ่นเป็นธรรมชาติ”
เคล็ดลับ: หากท่านชอบชุดสีแบบ Analogous ให้ปรับสมดุลโดยเลือกสีที่เน้นสีใดสีหนึ่ง หากต้องการให้ลิฟท์เด่น เลือกสีของลิฟท์บ้านในเฉดสีที่โดดเด่นมากขึ้น
3.COMPLEMENTARY SCHEME – โทนคอนทราสต์และดราม่า
Complementary Scheme คือ การเลือกหลักการใช้เฉดสีแบบคู่ตรงข้ามเพื่อสร้างความน่าดึงดูดใจ เป็นวิธีที่ดีในการรวมสีโทนร้อนและเย็นประเภทต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน โทนสีที่หมายถึงอาจเป็น: สีเหลืองและสีดำ หรือ สีม่วงและสีเขียว หรือ สีเขียวและสีชมพู เป็นต้น
ตัวอย่าง ห้องโทนสีตัดกันดำและเหลืองให้ความรู้สึก “โมเดิร์น ทันสมัย”
เคล็ดลับ: หากท่านต้องการให้ลิฟท์บ้านโดดเด่นอย่าลืมเลือกสีที่ตรงข้ามกับสีหลักที่อยู่ภายในบ้าน หรือ เลือกผสมสีคู่ตรงข้ามกันระหว่างปล่องลิฟท์กับสีตกแต่งภายในลิฟท์
สีลิฟท์ที่เป็นทางออกสำหรับทุกบ้าน
หากท่านไม่สามารถระบุสไตล์ด้วยชุดสีที่กล่าวมาข้างต้นได้ อาจลองใช้สีที่ปรับเปลี่ยนได้กับทุกพื้นที่ เราขอแนะนำ Gothic Graphite Black และ Oriental Oyster White จากตัวเลือกสีระดับพรีเมียมของเรา ซึ่งเป็นสองสีที่ดูหรูหราและเหนือกาลเวลาที่เข้ากับทุกสีที่มีอยู่ในบ้านของท่าน
หากท่านต้องการลองเลือกชุดสีที่เข้ากับธีมสีปัจุบันของบ้านท่าน ให้ลองใช้ Adobe Color wheel หรือ Canva Color wheel เพื่อได้ไอเดียในการเลือก หรือหากท่านมีคำถามใด ๆ เกี่ยวกับการเลือกสีลิฟท์ สามารถติดต่อทีมของเราเพื่อขอคำแนะนำได้เลย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลิฟท์บ้านระบบสกรูของเรา สามารถติดต่อเราได้ที่ https://www.cibeslift.co.th/homelift-main-form เพื่อรับการติดต่อกลับพร้อมนำเสนอราคา